ที่ดินไม่มีโฉนดโอนกรรมสิทธิ์ได้หรือไม่ อย่างไร

บทความเกี่ยวกับอสังหา

 

นอกจากที่ดินประเภทที่มีโฉนดแสดงกรรมสิทธิ์สามารถทำการซื้อขายได้แล้ว เอกสารสิทธิ์ในที่ดินอื่นๆ เช่นที่ดิน นส.3 ก โฉนดครุฑแดง หรือที่ดิน ส.ป.ก. ก็ล้วนเป็นที่ดินที่มีเจ้าของเช่นกัน ในวันที่ที่อยู่อาศัยขยายตัวขึ้นแบบในปัจจุบัน ที่ดินเหล่านี้ก็เหมือนจะมีค่ามากกว่านำไปใช้เพาะปลูกทำเกษตรกรรม หลายคนที่ครอบครองเอกสารสิทธิ์เหล่านี้อาจกำลังสงสัยอยู่ว่า เอกสารพวกนี้โอนกรรมสิทธิ์เปลี่ยนเจ้าของได้หรือไม่ และมีเงื่อนไขอย่างไร

 

 

ซึ่งเอกสารประเภทที่เป็นที่ดินจับจองแบบ ส.ป.ก. 4-01 หรือเอกสารอื่นๆ จะเป็นเอกสารสิทธิ์ในที่ดินเพื่อการทำมาหาเลี้ยงชีพ ตั้งแต่สมัยที่บรรพบุรุษเรายังใช้วิธีจับจองอยู่ และเอกสารเหล่านี้ถูกออกให้โดยรัฐเพื่อให้ผู้ถือครองมีที่ทำกิน เป็นที่ดินที่สามารถตกทอดเป็นมรดกได้ แต่ไม่สามารถซื้อขายได้

 

 

ดังนั้นการจะรับสิทธิ์ในที่ดินลักษณะนี้ได้มีอยู่อย่างเดียวคือต้องเป็นทายาท รับผ่านการรับมรดก ซึ่งทายาทในที่นี้คือทายาทโดยธรรม เช่น คู่สมรส ลูก หลาน พี่น้องร่วมบิดามารดา หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดาหรือมารดา และญาติที่ห่างออกมาถ้าไม่มีทายาทที่ใกล้ชิดกว่านั้น เช่นปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา เป็นต้น โดยจะขอรับได้เมื่อผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของเอกสารสิทธิ์นั้นเสียชีวิตไปแล้ว

 

 

โดยนำเอกสารไปยื่นที่สำนักงานซึ่งจัดการเรื่องนั้นโดยตรง เช่น สำนักงานที่ดิน สำนักงาน ส.ป.ก. เป็นต้น เอกสารที่ใช้คือ

  • บัตรประชาชนผู้ยื่นคำขอ
  • ทะเบียนบ้านผู้ยื่นคำขอ
  • ใบมรณบัตร

 

 

ในกรณีที่มีทายาทหลายคน ต้องมีการลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ว่าไม่ขอรับผลประโยชน์ในส่วนนี้อีกด้วย 

 

 

ที่จริงแล้วการซื้อขายที่ดินลักษณะนี้แบบไม่มีเอกสารสิทธิ์มีในปัจจุบันก็ยังมีอยู่ ซึ่งถือเป็นความไม่ปลอดภัยต่อผู้ซื้อเพราะซื้อมาแล้วก็ไม่มีเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของที่ชัดเจน ดังนั้นถ้าอยากซื้อขายที่ดินประเภทนี้จริงๆ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายรอให้เปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินก่อนจะดีกว่า ซึ่งถ้าใกล้ที่อยู่อาศัยจริงๆ ในอนาคตก็มีโอกาสเปลี่ยนเป็นโฉนดได้จริงๆ