บทความเกี่ยวกับอสังหา
ในบรรดาที่อยู่อาศัยในแนวตั้งที่เรารู้จักนั้น แน่นอนว่าทุกคนคงต่างคุ้นเคยกับคำว่า แฟลต อพาร์ทเมนท์ แมนชั่น และคอนโดมิเนียมกันเป็นอย่างดี แต่รู้หรือไม่ว่ามันต่างอย่างไร?
ต่อเนื่องกันทันทีจากครั้งที่แล้วสำหรับตอนจบของมหากาพย์ความแตกต่างของ แฟลต อพาร์ทเมนท์ แมนชั่น และคอนโดมิเนียม ใน EP.2 : ที่เขาบอกว่าเป็นคอนโด จริงๆ แล้วเป็นแค่ชื่อแมนชั่นอย่างนั้นหรือ !
(อ่านย้อนหลัง EP.1 : เมื่อแฟลตที่อังกฤษ หรูกว่าคอนโดมิเนียมในบ้านเราเสียอีก ! คลิก : https://bit.ly/2Ta2v57 )
ในครั้งที่แล้วนั้นเราได้กล่าวไปแล้วว่า แม้แฟลต อพาร์ทเมนท์ แมนชั่น และคอนโดมิเนียม จะถูกเรียกรวมกันว่าเป็นอาคารอยู่อาศัยรวม แต่ด้วยลักษณะการบริการ และสิทธิในการครอบครองที่ต่างกัน จึงทำให้ทั้งหมดนี้จะถูกกำหนดอยู่ภายใต้พระราชชัญญัติและกฎระเบียบข้อบังคับที่ต่างกันด้วย โดย พรบ. ที่เกี่ยวข้องและใช้เป็นข้อกำหนดในการก่อสร้างและลักษณะการดำเนินกิจการของ แฟลต อพาร์ทเมนท์ แมนชั่น และคอนโดมิเนียม จะมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 2 พรบ. ได้แก่ พรบ. อาคารชุด และ พรบ. ควบคุมอาคาร
1. พรบ. อาคารชุด พระราชบัญญัติอาคารชุดของไทย เป็น พรบ. ที่มีจุดประสงค์เพื่อการควบคุม และกำกับดูแลการดำเนินการของกิจการอาคารที่อยู่อาศัยรวม โดยมีสาระสำคัญประการหนึ่งอยู่ที่การขายกรรมสิทธิ์ในการถือครองห้องชุด
กล่าวคือ อาคารที่อยู่อาศัยรวมภายใต้ พรบ. อาคารชุดนั้น จะต้องเป็นรูปแบบสิทธิการ ซื้อ-ขาย ขาด ที่ผู้ซื้อจะได้รับกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของห้อง พร้อมได้รับการแบ่งกรรมสิทธิ์ในอาคารออกเป็นสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน ซึ่งหากจะพูดให้ง่ายกว่านั้น ก็คือ ห้องเป็นของเรา พื้นที่ทางเดิน สิ่งอำนวยความสะดวก และที่ดินของโครงการก็ถือว่าเป็นของเราส่วนหนึ่งด้วยเช่นกัน โดยอาคารที่เข้าข่ายและต้องปฏิบัติตาม พรบ. ฉบับนี้ ก็ได้แก่ คอนโดมิเนียม นั่นเอง
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องพักภายในคอนโดมิเนียมทุกแห่ง ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในเจ้าของร่วมของคอนโดมิเนียมแห่งนั้นด้วยเช่นกัน
2. พรบ. ควบคุมอาคาร สำหรับอาคารที่อยู่อาศัยรวมประเภทที่เหลืออย่าง แฟลต อพาร์ทเมนท์ และแมนชั่นนั้น จะอยู่ภายใต้ พรบ. ควบคุมอาคาร ซึ่งมีสาระสำคัญเฉพาะในส่วนของการควบคุมการออกแบบตัวอาคารเท่านั้น และไม่ได้มีการระบุถึงกรรมสิทธิ์ในการถือครองร่วมกันอย่างเช่นใน พรบ. อาคารชุด จึงทำให้ แฟลต อพาร์ทเมนท์ และแมนชั่น สามารถเปิดให้บริการเช่ารายเดือนและรายปี หรือในบางแห่งอาจเปิดให้สามารถทำการเซ้งหรือขายขาดได้คล้ายกับคอนโดมิเนียม แต่กรรมสิทธิ์ในอาคารทั้งหมดจะยังตกเป็นของเจ้าของอาคารแต่เพียงผู้เดียวเหมือนเดิม
ตัวอย่างเช่น เราสามารถเซ้งหรือซื้อขาดห้องภายในแมนชั่นได้ แต่ตัวแมนชั่นก็ยังคงเป็นของเจ้าของแมนชั่นอยู่เช่นเดิม โดยไม่ได้ตกเป็นของร่วมกันเหมือนกับในกรณีของคอนโดมิเนียม
ดังนั้นแล้ว ความแตกต่างของ แฟลต อพาร์ทเมนท์ แมนชั่น และคอนโดมิเนียม ที่นอกเหนือจากชื่อเรียกและเหตุผลทางการตลาด ก็จะอยู่ที่กรรมสิทธิ์ในการถือครองนั่นเอง อย่างไรก็ตาม แม้คอนโดมิเนียมจะได้เปรียบกว่าในแง่ของการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ขาด แต่ทั้งนี้ มันก็ตามมาด้วยราคาที่สูงกว่า พร้อมด้วยค่าส่วนกลางประจำปีที่ทำให้เจ้าของคอนโดหลายรายต้องปาดเหงื่อกันมาแล้ว
และถึงแม้อพาร์ทเมนท์หรือแมนชั่นจะฟังดูเก่าหรือไม่ดูดีเท่า แต่มีข้อได้เปรียบกว่าในเรื่องราคาและขนาดพื้นที่ใช้สอยที่มากกว่า และอพาร์ทเมนท์หรือแมนชั่นบางแห่งนั้น หากเราทำการรีโนเวทดีๆ แล้วก็อาจจะออกมาหรูหราได้ไม่แพ้คอนโดมิเนียมแพงๆ เลยทีเดียว แถมยังได้โลเคชั่นที่ดีกว่าเสียด้วยซ้ำ
สุดท้ายนี้ไม่ว่าอาคารที่อยู่อาศัยของเราจะมีชื่อเรียกว่าอย่างไร เก่าแก่ ทรุดโทรม หรือทันสมัยเพียงใด หากเรามีความสุขและมองเห็นคุณค่าในสถานที่เหล่านั้น มันก็คงสามารถเรียกทั้งหมดนี้ได้ว่า “บ้าน” ได้เช่นกัน
------------------------
อัศวินแอสเสท : ให้บริการสินเชื่อเงินกู้ด้านอสังหาฯ ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกที่สุดในประเทศไทย เพียง 0.75% ต่อเดือน
ค่าดำเนินการต่ำ ไม่ผ่านหน้านาย อนุมัติง่าย ให้วงเงินสูง สัญญาสูงสุด 10 ปี!! ไม่เช็คเครดิต ไม่เช็คการเงิน ไม่ต้องค้ำประกัน ปลอดภัย เชื่อถือได้
เพียงคุณมีสินทรัพย์หรือโฉนดที่ดิน ต้องการเงินด่วน
ปรึกษาเราได้ที่ โทร. 087-441-8888, 098-885-0479
#AssawinAsset #รับจำนอง #รับขายฝาก #ฝากขายอสังหาริมทรัพย์ #สินเชื่อดอกเบี้ยถูก
#อัศวินแอทเสทสินเชื่อเคียงข้างนักลงทุน