บทความเกี่ยวกับอสังหา
ช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบกับธุรกิจอสังหาฯ ในแง่กำลังซื้อที่ลดลงอย่างมาก ทำให้รัฐบาลออกมาตรการผ่อนคลาย Loan-to-value ratio (LTV) หรืออัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาบ้านลง เพื่อให้คนที่พอมีกำลังซื้อในช่วงเวลานั้นสามารถซื้อบ้านได้ในอัตราส่วน สินเชื่อ 90% ต่อเงินดาวน์ 10% ซึ่งหมายความว่า ผู้กู้ซื้อบ้านจะสามารถกู้ได้มากขึ้น โดยจ่ายเงินดาวน์น้อยลง
แต่ในปี 2566 นี้ มาตรการการผ่อนคลาย LVT ได้ถูกยกเลิกไป เพราะเศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัว ภาครัฐไม่จำเป็นต้องผ่อนปรนในส่วนนี้ และจำเป็นต้องป้องกันไม่ให้เกิดการเก็งกำไรจนกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม
ในขณะที่การยกเลิกมาตรการดังกล่าวได้ออกมาประกาศใช้ กลับพบว่าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 อัตราการโอนในตลาดอสังหาฯ นั้นลดน้อยลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน โดยมีมูลค่าการซื้อขายลดลงถึง 40% สมาคมอาคารชุดไทย จึงเสนอแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจกับรัฐบาลโดย นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ในฐานะนายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ไตรมาส 1/66 ที่ผ่านมา ยอดขายคอนโดฯถือว่าดีกว่าปีที่แล้ว ก่อนหน้านี้ประเมินอยู่แล้วว่า ตลาดคอนโดฯปี 2566 ยอดขายน่าจะเติบโต 30-40% เทียบกับปี 2565 เป็นผลจากการเปิดประเทศ
อย่างไรก็ตาม ความได้เปรียบในการแข่งขันยังเป็นของบิ๊กแบรนด์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะมีความพร้อมทั้งด้านเงินทุน ประสบการณ์และเครือข่าย ทำให้บริษัทรายกลาง-รายเล็กเสียเปรียบอยู่ มีผลกระทบต่อการลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ที่จะมารองรับความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในตลาดแมสดังนั้นมาตรการกระตุ้นอสังหาฯจึงมองว่ามีความจำเป็น
ซึ่งจากกรณีนี้นั้นภาคธุรกิจอสังหาฯ ของไทยจึงได้มีข้อเสนอที่สำคัญ คือ
1. ขอให้ผ่อนปรน LTV (มาตรการขอสินเชื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้ 100% โดยไม่ต้องวางเงินดาวน์) ต่อไปอีก 2 ปี ในปี 2566-2567 เพื่อเป็นตัวช่วยในฝั่งผู้ซื้อให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้
2.มาตรการลดค่าโอน-จำนอง ขอให้ลดค่าโอนและจดจำนองจาก 3% เหลือ 0.01% กับขยายเพดานสินเชื่อจาก 3 ล้านบาท เป็น 10 ล้านบาท
เพื่อเปิดโอกาสให้คนอยากมีบ้านลดภาระค่าใช้จ่าย เพราะหลังจากซื้อบ้านแล้วมีความจำเป็นต้องซื้อเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ
ก็ต้องมาจับตาดูกันว่าหลังจากนี้ภาครัฐจะมีการปรับเปลี่ยนนโยบายหรือไม่อย่างไร หรือสุดท้ายแล้วตลาดอสังหาฯ จะได้รับผลกระทบหนักจนถึงจุดไหนจากความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ