บทความเกี่ยวกับอสังหา
สำหรับมือใหม่ในการซื้อ-ขาย อสังหาริมทรัพย์นั้น หลายคนอาจคิดว่าเพียงแค่มีเงินสดหรือกู้ธนาคารให้เพียงพอต่อการจ่ายค่าทรัพย์สินเหล่านั้นได้ หรือประกาศขายแล้วมีผู้ซื้อเพียงเท่านี้ก็จบเรื่อง เท่านี้ก็ได้ทรัพย์สินเหล่านั้นมาอยู่ในความครอบครองของเราแล้ว แต่แท้จริงแล้วมันยังมีเงินอีกก้อนหนึ่งที่เราต้องเตรียมไว้ในการโอนกรรมสิทธิ์อีกด้วย
เพราะทั้งการซื้อขายบ้าน คอนโด และที่ดินนั้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายกับโครงการหรือระหว่างบุคคลด้วยกันนั้น ก็จะมีค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ที่เหมือนกันอยู่ทั้งสิ้น 5 รายการ ที่จะเกิดขึ้นแน่นอน ดังนี้
1. ค่าธรรมเนียมการโอน ซึ่งปกติแล้วจะอยู่ที่ 2% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อ-ขาย จริง โดยใช้ราคาที่สูงที่สุดในการคำนวณ
2. ค่าจดจำนอง คิดเป็น 1% ของมูลค่าจำนอง โดยสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับสำนักงานกรมที่ดินเพื่อเป็นการประกันหนี้ให้กับธนาคารในการโอนกรรมสิทธิ์
แต่ด้วยมาตรการกระตุ้นการซื้อ-ขาย อสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล ตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ต้องการลดภาระให้กับผู้ที่ต้องการซื้อ-ขาย ที่อยู่อาศัย จึงได้มีการลดค่าธรรมเนียมการโอน และ ค่าจดจำนองลง เหลือเพียง 0.01% เท่านั้น โดยมีเงื่อนไขว่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจะต้องมีราคาซื้อ-ขาย และวงเงินจดจำนอง ไม่เกิน 3 ลบ.
โดยมาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. 2562 - 24 ธ.ค. 2563 นี้
ซึ่งมาตรการนี้แหละที่จะช่วยให้เราประหยัดเงินไปได้ร่วมแสนบาท ! ยกตัวอย่างเช่น หากเราตัดสินใจซื้อบ้านในราคา 3,000,000 บาท นั้น ปกติจะมีค่าโอนและค่าจดจำนองรวมกันอยู่ที่ 90,000 บาท แต่ด้วยมาตรการช่วยเหลือนี้ ก็จะทำให้เราต้องจ่ายเงินทั้ง 2 ส่วนนี้ รวมกันเหลือเพียง 600 บาท เท่านั้น !
จากเกือบแสนเหลือเพียงไม่กี่ร้อยเท่านั้น เรียกได้ว่าเผลอๆ มาตรการนี้จะแรงซะยิ่งกว่าโปรโมชั่นลดราคาของบางโครงการเสียอีกด้วยซ้ำ
3. ค่าอากรแสตมป์ เป็นค่าใช้จ่ายที่เราต้องชำระให้กับสรรพากร โดยจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 0.5% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อ-ขาย จริง โดยใช้ราคาที่สูงที่สุดในการคำนวณ และจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ขายทำการขายทรัพย์สินดังกล่าว โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี หรือมีการถือครองมาครบ 5 ปี แล้ว เท่านั้น
4. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับกรณีที่ผู้ขายไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนเกิน 1 ปี หรือถือครองทรัพย์สินมามากกว่า 5 ปี ก็จะต้องทำการชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะแทน โดยคิดเป็น 3.3% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อ-ขาย จริง โดยใช้ราคาที่สูงที่สุดในการคำนวณ
สำหรับค่าใช้จ่ายในข้อที่ 3 และ 4 นี้ เราจะต้องจ่ายเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าผู้ขายนั้นเข้าอยู่ในเกณฑ์ใด ซึ่งในส่วนนี้ก็เป็นค่าใช้จ่ายที่ถูกกำหนดขึ้นมาสำหรับการซื้อมา-ขายไป เพื่อเกร็งกำไรนั่นเอง โดยจะเห็นว่าค่าอากรแสตมป์ในกรณีที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี หรือมีการถือครองมาครบ 5 ปี นั้น จะอยู่แค่เพียง 0.5% เท่านั้น ในขณะที่ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะนั้นจะสูงถึง 3.3% เลยทีเดียว
5. ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย
หากผู้ขายทรัพย์สินนั้นเป็นบุคคลธรรมดา ก็จะต้องมีการเสียภาษีเงินได้ โดยใช้ราคาประเมินรวมที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นตัวตั้ง แล้วนำมาคำนวณอัตราภาษีเงินได้ และหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามจำนวนปีที่ถือครอง จนออกมาเป็นค่าใช้จ่ายสุทธิที่เราต้องจ่ายในวันโอนฯ
อย่างไรก็ตามนั้นค่าใช้จ่ายทั้ง 5 ข้อนี้ จัดว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในวันโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งไม่มีกำหนดตายตัวว่าผู้ซื้อหรือผู้ขายจะเป็นคนชำระค่าใช้จ่ายในส่วนใด โดยขึ้นอยู่กับการตกลงของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งส่วนมากแล้วค่าธรรมเนียมการโอนนั้นจะเป็นการแบ่งกันออกคนละครึ่ง ในขณะที่ค่าจดจำนองผู้ซื้อจะเป็นคนจ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น ผู้ขายมักจะเป็นคนชำระเอง
จะเห็นได้ว่าไม่ใช่ว่าเราจะเดินตัวปลิวรับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือรับเงินจากการขายทันทีหลังการซื้อขายเสร็จสิ้น เพราะยังมีค่าใช้จ่ายอีกเป็นแสนบาทที่เราต้องชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ แต่ด้วยมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล ก็อาจจะช่วยแบ่งเบาภาระของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายไปได้มากทีเดียว
และสำหรับใครที่วางแผนว่าจะซื้อขายหรือโอนกรรมสิทธิ์กันในช่วงนี้ ก็ขอย้ำอีกครั้งว่าต้องภายใน 24 ธ.ค. 2563 เท่านั้นนะ รีบเลย !
------------------------
อัศวินแอสเสท : ให้บริการสินเชื่อเงินกู้ด้านอสังหาฯ ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกที่สุดในประเทศไทย เพียง 0.75% ต่อเดือน
ค่าดำเนินการต่ำ ไม่ผ่านหน้านาย อนุมัติง่าย ให้วงเงินสูง สัญญาสูงสุด 10 ปี!! ไม่เช็คเครดิต ไม่เช็คการเงิน ไม่ต้องค้ำประกัน ปลอดภัย เชื่อถือได้
เพียงคุณมีสินทรัพย์หรือโฉนดที่ดิน ต้องการเงินด่วน
ปรึกษาเราได้ที่ โทร. 087-441-8888, 098-885-0479
#AssawinAsset #รับจำนอง #รับขายฝาก #ฝากขายอสังหาริมทรัพย์ #สินเชื่อดอกเบี้ยถูก
#อัศวินแอทเสทสินเชื่อเคียงข้างนักลงทุน