บทความเกี่ยวกับอสังหา
‘เจ้าของบ้าน’ และ ‘เจ้าบ้าน’ - 2 คำที่คล้ายกัน แต่ความหมายไม่เหมือนกัน
.
ถึงแม้ว่าจะเขียนคล้ายๆ กัน แต่รู้หรือไม่ว่าแค่เติมคำว่า ‘ของ’ เข้าไปนิดเดียวก็ทำให้สิทธิและหน้าที่ในกฎหมายของคำ 2 คำนี้ แตกต่างกันอย่างลิบลับได้แล้ว
.
‘เจ้าของบ้าน’ หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย โดยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีอำนาจใช้สอย จำหน่าย จ่ายโอน ปล่อยเช่า ได้ดอกผลจากการติดตามและเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนรวมถึงขัดขวางมิให้ผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
.
ในขณะที่ ‘เจ้าบ้าน’ จะหมายถึง ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นใดก็ตาม
.
นิยามที่แตกต่างกันของทั้งสองคำนี้คือความหมายที่ถูกระบุไว้ในกฎหมาย ซึ่งถ้าใครอ่านแล้วงงก็ไม่เป็นไร เพราะเดี๋ยวเราจะมาช่วยกันแปลให้เป็นภาษาชาวบ้านแบบเราๆ กันดีกว่า
.
ถ้าจะอธิบายให้ง่ายกว่านั้นก็คือ ‘เจ้าของบ้าน’ หมายถึง ผู้ที่มีชื่ออยู่ในโฉนด ส่วน ‘เจ้าบ้าน’ คือผู้ที่มีชื่อว่าเป็นเจ้าบ้านอยู่ในทะเบียนบ้าน ซึ่งทั้งสองคนนี้อาจเป็นคนคนเดียวกันหรือคนละคนกันก็ได้
.
ตัวอย่างเช่น นาย A ได้ทำการซื้อบ้านหลังหนึ่งไว้แล้วจัดการโอนกรรมสิทธิ์ในโฉนดเป็นชื่อตัวเองเรียบร้อย ทว่า นาย A ไม่ได้คิดจะอยู่อาศัยในบ้านหลังนี้ด้วยตัวเอง แต่ตั้งใจจะให้นาย B ที่เป็นน้องชาย เป็นผู้อยู่อาศัยแทน
.
นาย B จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้านและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยมีหน้าที่แจ้งเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับกฎหมายทะเบียนราษฎร์ เช่น การแจ้งเกิด ตาย ย้ายเข้า - ย้ายออก เป็นต้น
.
ซึ่งการที่นาย B ที่มีฐานะเป็น ‘เจ้าบ้าน’ นี้ก็ไม่สามารถทำให้กรรมสิทธิ์ในการครอบครองบ้านและที่ดินในฐานะ ‘เจ้าของบ้าน’ ของนาย A ลดลงไปแต่อย่างใด เพราะนาย A ก็ยังคงมีสิทธิ์ในการขายต่อ ปล่อยเช่า หรือโอนกรรมสิทธิ์ให้กับคนที่ต้องการได้เหมือนเดิม 100%
.
ซึ่งถ้าหากจะตอบให้ชัดๆ ว่า ‘เจ้าของบ้าน’ และ ‘เจ้าบ้าน’ คนไหนใหญ่กว่ากัน ก็คงต้องตอบว่า ‘เจ้าของบ้าน’ หรือนาย A นั่นแหละ เพราะนอกจากจะมีกรรมสิทธิ์อย่างสมบูรณ์ในทรัพย์สินแล้ว ยังสามารถทำหน้าที่แต่งตั้ง ‘เจ้าบ้าน’ อย่างนาย B ได้อีกด้วย
.
ตัวอย่างเช่น เกิดวันใดวันหนึ่ง นาย A มีความต้องการอยากขายบ้านหลังนี้ขึ้นมา แม้ว่านาย B ในฐานะ ‘เจ้าบ้าน’ จะไม่ยินยอม นาย B ก็ไม่มีสิทธิ์คัดค้านใดๆ เพราะบ้านหลังนี้ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของนาย A ในฐานะ ‘เจ้าของบ้าน’ แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น
.
เป็นยังไงบ้าง? คราวหน้าถ้าได้ยินใครมาบอกว่าจะยกให้เป็น ‘เจ้าบ้าน’ ก็ยังไม่ต้องรีบตื่นเต้นดีใจไป เพราะเขาไม่ได้หมายความว่าจะยกบ้านหลังนั้นให้กับเราเสียหน่อย เราก็แค่มีชื่อเป็น ‘เจ้าบ้าน’ ในทะเบียนบ้านและทำหน้าที่ติดต่อเรื่องต่างๆ กับสำนักเขตก็เท่านั้นเอง และไม่ได้เป็น ‘เจ้าของบ้าน’ แต่อย่างใด
------------------------
ติดตามเรื่องราวอัปเดตเทรนด์ใหม่ๆ ในวงการอสังหาฯ
ที่อ่านง่าย ได้ความรู้ พร้อมบริการซื้อ ขาย จำนอง ที่ดิน
อสังหาริมทรัพย์ บ้านและคอนโด ได้ที่ : https://assawinasset.com/
อัศวินแอสเสท : ให้บริการสินเชื่อเงินกู้ด้านอสังหาฯ ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกที่สุดในประเทศไทย เพียง 0.75% ต่อเดือน
ค่าดำเนินการต่ำ ไม่ผ่านหน้านาย อนุมัติง่าย ให้วงเงินสูง สัญญาสูงสุด 10 ปี!! ไม่เช็คเครดิต ไม่เช็คการเงิน ไม่ต้องค้ำประกัน ปลอดภัย เชื่อถือได้
เพียงคุณมีสินทรัพย์หรือโฉนดที่ดิน ต้องการเงินด่วน
ปรึกษาเราได้ที่ โทร. 087-441-8888, 098-885-0479
Line@ : https://lin.ee/tIpO804
#AssawinAsset #รับจำนอง #รับขายฝาก #ฝากขายอสังหาริมทรัพย์ #สินเชื่อดอกเบี้ยถูก
#อัศวินแอทเสทสินเชื่อเคียงข้างนักลงทุน