บทความเกี่ยวกับอสังหา
ไหนใครเคยเจอปัญหากับเพื่อนบ้านแบบนี้บ้าง? #รู้หรือไม่? ว่าเราสามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยวิธีการทางกฎหมาย
.
‘ปัญหาจากเพื่อนบ้าน’ นับเป็นอีกเรื่องปวดหัวที่ใครหลายคนต้องพบเจอในการอาศัยอยู่ร่วมกับผู้อื่นทั้งในหมู่บ้านและคอนโดที่พักอาศัย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วปัญหาเหล่านี้สามารถดำเนินการแก้ไขได้ด้วยกันหลายวิธี
.
ตั้งแต่การบอกกล่าวตักเตือน เจรจา เขียนโน๊ตแปะ หรือแม้แต่การแจ้งต่อหมู่บ้าน นิติฯ และผู้ดูแลโครงการ ตลอดจนการออกบทลงโทษสำหรับการกระทำต่างๆ ที่สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับผู้อยู่อาศัย
.
แต่ในเมื่อวิธีการปกติไม่สามารถใช้ได้ผลกับพฤติกรรมสุดทนเหล่านี้ วันนี้เราจึงได้รวบรวมข้อกฎหมายจากเว็บไซต์ธรรมนิติที่จะสามารถใช้เป็นไม้เด็ดสำหรับจัดการกับปัญหาจากเพื่อนเหล่านี้ให้อยู่หมัด !
.
#ปัญหาส่งเสียงดัง
ปัญหาสุดคลาสสิคสำหรับชาวหมู่บ้านและคอนโด ทั้งการส่งเสียงดังรบกวน ตั้งวงสังสรรค์ เปิดเพลงเสียงดัง ทะเลาะวิวาท และอื่นๆ อีกมากมายที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญจากการใช้เสียง
.
ทั้งหมดนี้ ถือเป็นความผิดตามมาตรา 370 และมาตรา 397 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ฐานส่งเสียงหรือทำให้เกิดเสียงดังโดยไม่มีเหตุอันสมควร และก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ
.
#ปัญหาสัตว์เลี้ยง
ในกรณีที่สัตว์เลี้ยงของเพื่อนบ้าน เข้ามากัด ขี้ หรือทำลายสิ่งของภายในบ้าน เจ้าของบ้านมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าของสัตว์ได้ ตามมาตรา 433 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
.
เช่นเดียวกันกับการส่งเสียงดังรบกวนโดยสัตว์เลี้ยง ที่มีความผิดฐานก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ตามมาตรา 397 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
.
แต่สำหรับข้อนี้ต้องระวังไว้ให้ดี เพราะถึงแม้สัตว์เลี้ยงของบ้านอื่นๆ จะสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับบ้านของเรา แต่เราก็ไม่มีสิทธิทำร้ายหรือฆ่าสัตว์ได้ มิเช่นนั้น อาจเข้าข่ายความผิดในฐานทำให้เสียทรัพย์และทารุณกรรมสัตว์
#ปัญหาจอดรถขวางหน้าบ้าน
แม้ว่าถนนหน้าบ้านจะถือเป็นทางสาธารณะ แต่การจอดรถขวางประตูบ้าน จนเป็นเหตุให้เจ้าของบ้านไม่สามารถนำรถเข้าหรือออกจากบ้านได้ ก็ถือเป็นความผิดฐานก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ตามมาตรา 397 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
อย่างไรก็ตาม เจ้าของบ้านไม่มีสิทธิทำลายรถของผู้ที่จอดขวางหน้าบ้านได้โดยพลการเด็ดขาด มิเช่นนั้นจะถือเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์แทน
.
#ปัญหาต้นไม้รุกล้ำที่
ประเด็นเล็กๆ ที่กลายเป็นชนวนเหตุแห่งการทะเลาะเบาะแว้งมาแล้วนักต่อนักอย่างการปลูกต้นไม้ที่กิ่งก้านแผ่ขยายรุกล้ำเข้าไปในเขตพื้นที่ของเพื่อนบ้าน โดยเจ้าของบ้านสามารถแจ้งกับเจ้าของต้นไม้ให้ทำการตัดส่วนที่รุกล้ำออกได้ แต่หากแจ้งแล้วยังไม่มีการตัด เจ้าของบ้านก็มีสิทธิที่จะตัดต้นไม้ส่วนที่รุกล้ำเองได้ ตามมาตรา 1347 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
.
ทั้งนี้ หากส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ของเราเป็นรากของต้นไม้ จนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาต่อโครงสร้าง เช่น กำแพงพัง หรือรากฐานเกิดการทรุดตัว เจ้าของบ้านมีสิทธิเข้าตัดฟันต้นไม้ได้ทันที โดยทำการแจ้งต่อเจ้าของต้นไม้ล่วงหน้าก่อน เพื่อป้องกันความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามมาตรา 358 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งอาจทำให้เจ้าของบ้านต้องทำการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งต่อเจ้าของต้นไม้แทน
.
แม้ว่าปัญหาเหล่านี้จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายที่อาจทำให้เหล่าบรรดาผู้อยู่อาศัยที่ต้องประสบพบเจอกับปัญหาจากเพื่อนบ้านเหล่านี้สบายใจขึ้นบ้าง แต่ขั้นตอนทางกฎหมายล้วนสิ้นเปลืองทั้งเวลาและเงินทอง และท้ายที่สุดมันอาจกลายเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สร้างความปวดหัวได้มากกว่าปัญหาจากเพื่อนบ้านด้วยซ้ำไป
.
ดังนั้นแล้ว ทางที่ดีที่สุดคงเป็นการพูดคุยกันด้วยความประนีประนอมและดำเนินการหาทางออกร่วมกัน เพราะคงไม่มีใครอยากมีปัญหากับเพื่อนบ้านที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเหนือสิ่งอื่นใดนั้นการเคารพซึ่งสิทธิของผู้อื่น และความเกรงอกเกรงใจถือเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงมีในการอยู่อาศัยร่วมกัน
------------------------
ติดตามเรื่องราวอัปเดตเทรนด์ใหม่ๆ ในวงการอสังหาฯ
ที่อ่านง่าย ได้ความรู้ พร้อมบริการซื้อ ขาย จำนอง ที่ดิน
อสังหาริมทรัพย์ บ้านและคอนโด ได้ที่ : https://assawinasset.com/
อัศวินแอสเสท : ให้บริการสินเชื่อเงินกู้ด้านอสังหาฯ ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกที่สุดในประเทศไทย เพียง 0.75% ต่อเดือน
ค่าดำเนินการต่ำ ไม่ผ่านหน้านาย อนุมัติง่าย ให้วงเงินสูง สัญญาสูงสุด 10 ปี!! ไม่เช็คเครดิต ไม่เช็คการเงิน ไม่ต้องค้ำประกัน ปลอดภัย เชื่อถือได้
เพียงคุณมีสินทรัพย์หรือโฉนดที่ดิน ต้องการเงินด่วน
ปรึกษาเราได้ที่ โทร. 087-441-8888, 098-885-0479