‘เซ้ง’ คำนี้ที่เห็นอยู่บ่อยๆ

บทความเกี่ยวกับอสังหา

เซ้งด่วน’ ‘เซ้งร้าน’ ‘เซ้งกิจการเดินผ่านไปไหนมาไหนก็ต้องเห็นป้ายนี้ #คุณเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำนี้มากแค่ไหน?

.

ถ้าเป็นการเช่าแบบปกติที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันนั้น ก็จะมีหลักการง่ายๆ คือเจ้าของนำอสังหาริมทรัพย์ไปปล่อยเช่าให้กับผู้ที่สนใจ และได้ผลตอบแทนเป็นค่าเช่า เมื่อหมดสัญญาหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบอกเลิกสัญญา ก็เป็นอันแยกย้ายกันไป เจ้าของก็สามารถหาผู้เช่ารายใหม่ต่อได้ในทันที

.

ทว่าเมื่อเป็นการเซ้งนั้น จะเป็นการขายสิทธิ์ในการเช่า หรือจะเรียกว่าการโอนสิทธิ์การเช่าซึ่งส่วนมากจะใช้กับอสังหาฯ ในเชิงพาณิชย์ เช่น การเซ้งร้าน เซ้งพื้นที่สำหรับขายของ เป็นต้น 

.

กล่าวคือ เจ้าของจะทำการขายสิทธิ์ทั้งหมดในอสังหาฯ ชิ้นนั้นๆ ตามระยะเวลาที่ระบุในสัญญา เช่น ผู้เซ้งมีสิทธิ์ใช้พื้นที่นี้ได้ในระยะเวลากี่ปี และเมื่อครบกำหนดหรือหมดสัญญา ทรัพย์สินนั้นก็จะตกกลับไปเป็นของเจ้าของตามเดิม

.

โดยก่อนที่จะเริ่มต้นทำสัญญากันนั้น ผู้เซ้งจะต้องทำการจ่ายเงินกินเปล่า หรือที่เรียกกันว่าค่าแป๊ะเจี๊ยะเป็นเงินก้อนตามที่ตกกันระหว่างเจ้าของและผู้เซ้ง จากนั้นก็จะเริ่มต้นทำสัญญาโอนสิทธิ์การเช่าภายใต้ข้อกำหนดเงื่อนไขต่างๆ 

.

เช่น ผู้เซ้งจะต้องจ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือนหรือรายปีให้กับเจ้าของในจำนวนกี่บาท ผู้เซ้งมีสิทธิ์ปรับปรุงหรือต่อเติมพื้นที่ได้มากน้อยแค่ไหน และเมื่อครบสัญญาทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของเจ้าของหรือไม่ และมีการยินยอมให้ผู้เซ้งนำทรัพย์สินที่เช่ามานี้โอนสิทธิ์การเช่าไปให้บุคคลอื่นต่อ หรือที่เรียกว่าเช่าช่วงได้หรือไม่ #ซึ่งข้อนี้เรียกได้ว่าสำคัญมากๆ 

.

ตัวอย่างเช่น นาย A เป็นเจ้าของอาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง และทำการปล่อยเซ้งให้กับนาย B เปิดร้านกาแฟเป็นระยะเวลา 30 ปี โดยมีค่าแป๊ะเจี๊ยะก่อนเริ่มทำสัญญาอยู่ที่ 1,000,000 บาท พร้อมกับต้องจ่ายค่าเช่าอีกเดือนละ 30,000 บาท ทุกเดือนจนครบสัญญา

.

เมื่อผ่านไปถึงปีที่ 10 นาย B เริ่มรู้สึกว่าร้านกาแฟของตัวเองขายไม่ดีอย่างที่คิด จึงต้องการปล่อยให้นาย C เซ้งต่อ ซึ่งในสัญญาระบุไว้ว่าสามารถทำได้ นาย B จึงเรียกเก็บเงินค่าแป๊ะเจี๊ยะ และค่าเช่าจากนาย C แทน โดยสิ่งของและอุปกรณ์ทั้งหมดภายในร้านที่เคยเป็นของนาย B ก็จะตกเป็นของนาย C ในทันที

.

แต่หากในสัญญาได้ระบุไว้ว่านาย B ไม่มีสิทธิ์ในการปล่อยเช่าช่วงหรือเซ้งต่อได้ แล้วเกิดนาย C ไม่รับทราบข้อกำหนดนี้มาก่อน จึงตัดสินใจเซ้งร้านกาแฟต่อจากนาย B ก็จะทำให้สัญญานี้ถือเป็นโมฆะในทางกฎหมายทันที เพราะถือว่านาย B ได้ทำผิดสัญญากับนาย A ตั้งแต่แรก และเมื่อนาย A รับทราบ ก็จะมีสิทธิ์เรียกคืนพื้นที่จากทั้งนาย B และ นาย C ได้ในทันที 

.

ซึ่งข้อนี้แหละที่ทำให้หลายคนเสียรู้และเสียเงินค่าแป๊ะเจี๊ยะกันไปแบบฟรีๆ มาแล้วนักต่อนัก หากไม่ทำการตรวจเช็กสัญญากันให้ดีๆ ตั้งแต่แรก   

.

และนอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องของทำเล ยอดขาย ฐานลูกค้าและอื่นๆ อีกมากมายที่ผู้เซ้งต่อต้องตรวจสอบและทำการศึกษาให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจใดๆ เพราะร้อยทั้งร้อยต่างก็อ้างเหตุว่าร้านขายดี แต่ไม่มีเวลา มีปัญหากับหุ้นส่วน หรือกำลังจะย้ายไปอยู่ต่างประเทศ ต่างๆ นานา ซึ่งอาจเป็นทั้งเรื่องจริงและไม่จริงได้ทั้งสิ้น

.

และยิ่งเฉพาะในช่วงที่เดินไปไหนต่อไหน ก็เห็นป้ายเซ้งแปะอยู่ตามหน้าร้านรวงต่างๆ เต็มไปหมดเพราะพิษเศรษฐกิจแบบนี้ สำหรับใครที่คิดจะลงทุนก็คงต้องคิดให้ละเอียดถี่ถ้วนกันยิ่งกว่าเดิมมากๆ

------------------------

ติดตามเรื่องราวอัปเดตเทรนด์ใหม่ๆ ในวงการอสังหาฯ
ที่อ่านง่าย ได้ความรู้ พร้อมบริการซื้อ ขาย จำนอง ที่ดิน
อสังหาริมทรัพย์ บ้านและคอนโด ได้ที่ : https://assawinasset.com/

อัศวินแอสเสท : ให้บริการสินเชื่อเงินกู้ด้านอสังหาฯ ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกที่สุดในประเทศไทย เพียง 0.75% ต่อเดือน

ค่าดำเนินการต่ำ ไม่ผ่านหน้านาย อนุมัติง่าย ให้วงเงินสูง สัญญาสูงสุด 10 ปี!! ไม่เช็คเครดิต ไม่เช็คการเงิน ไม่ต้องค้ำประกัน ปลอดภัย เชื่อถือได้

เพียงคุณมีสินทรัพย์หรือโฉนดที่ดิน ต้องการเงินด่วน
ปรึกษาเราได้ที่ โทร. 087-441-8888, 098-885-0479

Line@ : https://lin.ee/tIpO804


#AssawinAsset #รับจำนอง #รับขายฝาก #ฝากขายอสังหาริมทรัพย์ #สินเชื่อดอกเบี้ยถูก
#อัศวินแอทเสทสินเชื่อเคียงข้างนักลงทุน